การเชื่อมต่อราฟเบอรีพายกับคอมพิวเตอร์ะบบปฏิบัติการไมโครซอฟต์วินโดว์ผ่านการต่อตรงด้วยสายแลน
Connecting raspberry pi 2 with personal computer based
on MS Windows directly via Ethernet cable
สืบเนื่องจากต้องการใช้การเชื่อมต่อโดยตรงระหว่างราฟเบอรีพาย2 กับคอมพิวเพตอร์ผ่านสายแลนโดยตรง จึงได้ลองค้นหาวิธีการเชื่อมต่อ
ซึ่งค่อนข้างงงๆ ในช่วงแรก พอทำได้จึงอยากบันทึกไว้สักหน่อย กันลืมและเก็บไว้เป็นแหล่งอ้างอิง
สำหรับคนที่ต้องการใช้งาน
ในเบื้องต้นการติดต่อระหว่างราฟเบอรีและคอมพิวเตอร์
ปกติในห้องแลบหรือห้องที่มีฮับก็ไม่ได้ยากเย็นอะไรนัก ถ้าเชื่อมต่ออินเทอร์เนตได้
ตรวจสอบไอพีของตัวลูกได้ ก็ใช้ Remote Desktop Connection ของวินโดว์หรือ
ตัวรีโมตอื่นที่ทำหน้าที่ใกล้เคียงกันเชื่อมต่อได้เลย แต่ถ้ามีการเชื่อมต่อของตัวลูกในวงเยอะก็อาจจะอืดไม่ทันใจ
เนื่องจากไปแย่งแบนด์วิธด์รับส่งข้อมูล
การเชื่อมต่อก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยได้กำจัดปัญหานี้ได้
ในบางกรณีสำหรับราฟเบอรีพายเวลาใช้งานนั้นต้องต่อหน้าจอ
คีย์บอร์ด เมาส์ จากภายนอก เวลาจะโยกย้าย ขยับขยาย ทำงานเพลินอยากยกกลับห้อง
จะเอาทั้งหมดกลับก็คงลำบาก
ดังนั้นถ้าเชื่อมต่อตรงได้โดยใช้แค่สายแลนเพียงเส้นเดียวก็เป็นการดีไม่น้อย
ก็จะเหลือแค่หยิบตัวราฟเบอรีพายกับสายอแดปเตอร์ไฟเลี้ยงกลับก็สดวกสบายดี
ซึ่งในกรณีของผมอย่างหลังนี้จะเป็นประเด็นสำคัญกว่า
อุปกรณ์ที่จำเป็น
บอร์ดราฟเบอรีพายพร้อมเอสดีการ์ดที่ลงโปรแกรมเรียบร้อยแล้ว
สายแลน 1 เส้น
สายอแดปเตอร์ไฟเลี้ยงบอร์ด
คอมพิวเตอร์ที่มีระบบปฏิบัติการวินโดว์
โดยทำได้ง่ายๆ
เป็นขั้นเป็นตอน ตามนี้ครับ
2. เข้า Network connection เพื่อเซตค่า IPv4 ของ Ethernet adapter เป็นขั้นตอนตามในรูป
3. เปิดโปรแกรม DHCP Server ที่โหลดมาก่อนหน้า ตามรูป
4. เลือก Ethernet adapter ที่จะใช้ ในกรณีนี้มีแอดเดรสเป็น 192.168.2.1
5. จะเข้าสู่หน้าจ่ายไอพีให้เครื่องลูกข่าย
เพื่อทำการตั้งค่าตามรูป
6. ในที่นี้กำหนดให้จ่ายเลขไอพีให้เครื่องลูกข่ายในช่วง
110-115 (กรณีนี้คือบอร์ดราฟเบอรีพายเป้าหมาย) และคลิกให้สร้างไฟล์เริ่มต้นทำงานด้วย
7. เลือกให้เปิด DHCP server หลังจากเสร็จ เมื่อคลิกเสร็จสิ้น
จะมีหน้าต่างให้คลิก “Continuous as tray app” ตามรูปเลย
8. เมื่อเสร็จสิ้นจะพบ DHCP Server ทำงานเป็นแบคกราวด์อยู่ ตามรูป
9. จากนั้นทำงานรีบูตบอร์ดราฟเบอรีพายและเชื่อมต่อสายแลน
DHCP Server จะทำการจ่ายไอพีให้กับบอร์ด
ดังแสดงในรูป ซึ่งพบว่ามีไอพีแอดเดรสเป็น
192.168.2.110 ซึ่งต้องนำไปใช้สำหรับการเชื่อมต่อ
10. เปิดโปรแกรม Remote Desktop Connection หรือโปรแกมอื่นเพื่อเชื่อมต่อกับบอร์ด
11. ใส่ไอพีของบอร์ดเป้าหมาย เพื่อเชื่อมต่อ
12. ใส่ Username และ Password โดยปกติจะเป็น pi และ raspberry
ตามรูป
13. เชื่อมต่อสมบูรณ์ ก็จะแสดงหน้าจอ Desktop ของบอร์ด raspberry pi
จากขั้นตอนทั้งหมด
เราก็สามารถเชื่อมต่อบอร์ดเป้าหมายได้โดยเพียงใช้สายแลนเส้นเดียว
ร่วมกับบอร์ดและอแดปเตอร์ พร้อมสำหรับการพัฒนาที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้น
เอกสารอ้างอิง
1. DHCP
Server,uwe.ruttkamp@gmx.net, Availale: August, 2016.
http://www.dhcpserver.de/cms/download/.
2. Direct Network Connection
between Windows PC and Raspberry Pi, nprasan,
Availale: August, 2016. http://www.instructables.com/id/Direct-Network-Connection-between-Windows-PC-and-R/.
0 comments:
Post a Comment